• SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป แม้ยังมีแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนและท่องเที่ยว คาดว่าจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ เนื่องจาก 1) เป็นการรักษาสถานะความเป็นกลางของนโยบายการเงิน (Neutral stance) จากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ทำให้ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สอดคล้องกับศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว (Neutral rate) ลดต่ำลงจากเดิม และ 2) มติ กนง. ล่าสุดยังออกมาไม่เป็นเอกฉันท์ต่อเนื่อง *** มองกรอบเงินบาทอยู่ที่ 35.80 - 36.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสิ้นปีนี้ เงินบาทจะกลับมาแข็งค่าเล็กน้อยในกรอบ 34.00-35.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
Home EMC จัดโครงสร้างสู่ EMCX โฮลดิ้ง หลังผู้ถือหุ้นไฟเขียว พร้อมเพิ่มทุน RO รับธุรกิจใหม่
EMC จัดโครงสร้างสู่ EMCX โฮลดิ้ง หลังผู้ถือหุ้นไฟเขียว พร้อมเพิ่มทุน RO รับธุรกิจใหม่

EMC จัดโครงสร้างสู่ EMCX โฮลดิ้ง หลังผู้ถือหุ้นไฟเขียว พร้อมเพิ่มทุน RO รับธุรกิจใหม่

บมจ.อีเอ็มซี เตรียมตั้งโฮลดิ้ง ลดความเสี่ยงธุรกิจ สร้างโอกาสทางธุรกิจผลักดันการเติบโตระยะยาว พร้อมเพิ่มทุน RO พ่วงวอร์แรนต์ฟรี กำหนดผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้รับสิทธิ์จองซื้อหุ้นออกใหม่ “XR” วันที่ 8 พ.ค. 2567 ด้านผู้บริหารเผยนำเงินเพิ่มทุนรองรับธุรกิจใหม่ที่หนุนธุรกิจเดิมให้แข็งแกร่งคู่กัน คาดปิดดีลเร็วๆนี้ ย้ำสานต่อธุรกิจหลักจาก Backlog และเตรียมประมูลงานต่อเนื่อง ให้ความมั่นใจปีนี้แนวโน้มดีกว่าปีก่อน

ดร.ชาลี จังวิจิตรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) หรือ EMC เปิดเผยว่า ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัท โดยจัดตั้งบริษัท อีเอ็มซี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EMCX เป็นบริษัทโฮลดิ้ง โดยจะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ได้แก่ หุ้นสามัญของบริษัท โดยกำหนดวิธีการชำระค่าหุ้นด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทโฮลดิ้งในอัตราการแลกหุ้น (Share Swap Ratio) ที่หุ้นสามัญของบริษัทโฮลดิ้ง 1 หุ้น ต่อ หุ้นสามัญของบริษัท 1 หุ้น และภายหลังการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทโฮลดิ้งเสร็จสิ้น จะนำหุ้นสามัญของบริษัทโฮลดิ้งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แทนหุ้นสามัญของบริษัทหรือ EMC ซึ่งจะถูกเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันเดียวกัน ทั้งนี้ บริษัทได้แต่งตั้ง บริษัท เอส 14 แอดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและเสนอแนะความเห็นต่อผู้ถือหุ้นเพื่อประกอบการพิจารณาการเพิกถอนหลักทรัพย์ฯ

นอกจากนี้ ในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นยังพิจารณาอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering จำนวนไม่เกิน 8,434,049,054 หุ้น การออกเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) ของบริษัทฯ ครั้งที่ 7 (EMC-W7) จำนวนไม่เกิน 4,217,024,527 หน่วย ) ในอัตรา 1 หุ้นสามัญต่อ 1 สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน โดยผู้ถือหุ้นจะได้ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) โดยไม่คิดมูลค่าในอัตรา 2 หุ้นสามัญใหม่ ต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ มีอายุ 3 ปี ราคาการใช้สิทธิที่ 0.13 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้รับสิทธิ์จองซื้อหุ้นออกใหม่ “XR” (Excluding Right) ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 และกำหนดวันที่ผู้ถือหุ้นที่มีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้น (Record Date) ที่มีสิทธิในการจองหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567

สำหรับเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนดังกล่าวบริษัทจะนำมาเตรียมความพร้อมทางการเงินในธุรกิจที่ศึกษาไว้ อาทิ ธุรกิจเทคโนโลยีและไอที, ธุรกิจยูทิลิตี้ และธุรกิจ Oil & Gas โดยเฉพาะธุรกิจเทคโนโลยีและไอทีที่ขยายตัวตามเมกะเทรนด์ทำให้มีมูลค่างานในการประมูลมากขึ้น อีกทั้งงานในด้านนี้ยังสนับสนุนและต่อยอดงานระบบเดิมที่บริษัทประมูล เช่น งานระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า และระบบปรับอากาส ให้มีความครบวงจรมากยิ่งขึ้น ซึ่งธุรกิจ New S-Curve จะนำมาซึ่งรายได้และกำไรให้บริษัทภายใต้โครงสร้างบริษัทโฮลดิ้งที่อยู่ระหว่างการจัดตั้ง

ดร.ชาลี กล่าวว่า การดำเนินงานในปี 2567 จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากความตั้งใจในการบริหารจัดการทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้างที่บริษัทพยายามก่อให้เกิดรายได้มาโดยตลอด ทั้งการควบคุมค่าใช้จ่าย การส่งมอบโครงการที่แล้วเสร็จ นอกจากนี้ บริษัทจะเข้าไปสานต่อโครงการที่มี Backlog เช่น อาคารโรงพยาบาลตากสิน และงานก่อสร้างอาคารเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงเข้าประมูลงานต่างๆ เช่นเดียวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จะดำเนินงานต่อเนื่อง เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มธุรกิจหลักที่ชะลอตัวไปก่อนหน้านี้ ควบคู่ไปกับการเจรจาในธุรกิจกลุ่ม New S-Curve ที่คาดว่าจะสามารถสรุปข้อตกลงต่างๆทั้งในปีนี้ และในอนาคต