• ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น
Home ไปรษณีย์ไทยรุกการตลาดรู้ใจ ดัน Personalized Marketing เชื่อมดาต้าสร้างบริการ
ไปรษณีย์ไทยรุกการตลาดรู้ใจ ดัน Personalized Marketing เชื่อมดาต้าสร้างบริการ

ไปรษณีย์ไทยรุกการตลาดรู้ใจ ดัน Personalized Marketing เชื่อมดาต้าสร้างบริการ

ไปรษณีย์ไทยรุกการตลาดรู้ใจ ดัน Personalized Marketing เชื่อมดาต้าสร้างบริการที่เหนือกว่าในตลาดขนส่ง ตอกย้ำความต่างในการส่งและไลฟ์สไตล์ดิจิทัล

กรุงเทพฯ  19 กันยายน 2566 – บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตอกย้ำกระแสการตลาดรู้ใจ หรือPersonalized Marketing สร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้กับคนไทย กับการผนวกดาต้าและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับความต้องการส่งที่มีความหลากหลาย อาทิ Partner@Post โซลูชันการเป็นพาร์ทเนอร์ช่วยอำนวยความสะดวกธุรกิจที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน การออกแบบตัวช่วยอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจผ่านทีมขาย ทีมขน ทีมแคร์ รวมถึงบริการดิจิทัล Prompt Post ที่ช่วยบันทึกความทรงจำคนไทยผ่านโปสการ์ดออนไลน์ที่สามารถออกแบบได้เอง และการครีเอทแสตมป์เฉพาะบุคคล (iStamp) ที่สามารถใช้ฝากส่งสิ่งของทางไปรษณีย์ได้จริง รวมถึงมอบเป็นของขวัญในทุกโอกาสพิเศษ

 


ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า การทำการตลาดรู้ใจ หรือเฉพาะบุคคล หรือ Personalized Marketing ถือเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจทั่วโลกกำลังหันมาสนใจอีกครั้ง เนื่องจากในยุคที่ดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน ชีวิตประจำวัน ทำให้การทำการตลาดแบบ Personalization นั้นถูกเสริมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยการใช้ Data Driven หรือการนำข้อมูล ที่เก็บได้มาวิเคราะห์เพื่อเข้าใจพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภคจนนำไปสู่ โซลูชันการสื่อสารทางการตลาดที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าที่ต่างมองหาคุณค่าหรือประสบการณ์ใหม่ที่ทำให้รู้สึกถึงความเป็นคนพิเศษ เช่น การนำเสนอสินค้า บริการ ตลอดจนแคมเปญทางการตลาดที่ไม่ได้มุ่งเสนอสิ่งเดียวกันให้กับผู้บริโภคทุกคน
 
“ไปรษณีย์ไทยในฐานะหน่วยงานขนส่งและสื่อสารของชาติที่อยู่เคียงข้างคนไทยมากว่า 140 ปี มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพบริการให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการทุกคน โดยไปรษณีย์ไทยเล็งเห็นศักยภาพและประโยชน์ของ Personalized Marketing ที่นอกจากจะขับเคลื่อนด้านบริการที่ครองใจผู้บริโภคได้แล้วยังช่วยตอกย้ำถึงโรดแมพในการก้าวสู่ Data Company ด้วยการมีข้อมูลที่ครบครัน นำมาต่อยอดเป็นบริการที่หลากหลายตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคเช่น บริการ Partner @Post ที่ได้ดึงเอาปัญหาของผู้ใช้บริการกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการส่งพัสดุมารวบรวม และแก้ปัญหาผ่านโซลูชันที่เสมือนมีพาร์ทเนอร์ช่วยอำนวยความสะดวกธุรกิจ เช่น การฝากส่งจำนวนมาก การแพ็คสินค้า การจัดเตรียมการฝากส่งล่วงหน้าทางไปรษณีย์ให้รวดเร็วขึ้น ระบบสะสมคะแนนของ Post Family ที่สามารถเลือกรับสิทธิประโยชน์ได้อย่างหลากหลายตรงใจสอดรับกับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง รวมถึงยังมีการอกแบบตัวช่วยอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจผ่านทีมขาย ทีมขน ทีมแคร์ เป็นต้น”

ดร.ดนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการดำเนินงานด้านดิจิทัล ไปรษณีย์ไทยยังได้นำเอา Personalized Marketing มาต่อยอดกับไปรษณียภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าและบริการดั้งเดิม ทรานส์ฟอร์มให้การส่งโปสการ์ดและของสะสมอย่างแสตมป์ให้มีความพิเศษมากขึ้น และสอดรับกับยุคที่ทุกอย่างสามารถ ออกแบบได้ด้วยตนเอง โดยปัจจุบันมีการให้บริการ “โปสการ์ดออนไลน์” ผ่านแอปพลิเคชันพร้อมโพสต์ ซึ่งทุกคนสามารถครีเอทโปสการ์ดในแบบของตนเองได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ส่งความประทับใจไปถึงคนที่คิดถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา นอกจากนี้ ยังเอาใจกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการเก็บความทรงจำสุดคลาสสิคกับบริการ iStamp :ไอแสตมป์ ที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถออกแบบรูปบนแสตมป์ได้ด้วยตนเอง สามารถใช้ฝากส่งสิ่งของทางไปรษณีย์ได้จริง รวมถึงมอบเป็นของขวัญในทุกโอกาสพิเศษ นอกจากนี้บริการ iStamp ยังทำมาเพื่อเอาใจและสร้างสีสันให้เหล่านักสะสมด้วย ธีมพิเศษประจำเดือนเพื่อให้เข้ากับเทศกาลหรือวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันกอดแมวสากล Happy Pride Month
นอกจากกลยุทธ์ดังกล่าวจะนำมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์และบริการแล้ว ยังมีการผสมผสานกับการสร้างคอนเทนต์ผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์และอื่น ๆ เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้บริการในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแค่ภาคธุรกิจ แต่ยังครอบคลุ่มถึงเกษตรกร คนทำงาน วัยรุ่น และอื่น ๆ ที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้บริโภคในปัจจุบันไม่ใด้ใช้เพียงแค่เหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการ แต่ยังใช้อารมณ์ร่วมในการตัดสินใจประกอบด้วย การสื่อสารจึงต้องเป็นเหมือนเพื่อนที่มีคาแรคเตอร์ที่แสดงออกตรงกับกลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ ดร.ดนันท์ กล่าวปิดท้าย