• การประชุมกนง. วันที่ 18 ธ.ค. ที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25% ตามคาด มองว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับศักยภาพ เงินเฟ้อที่โน้มเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมทั้งรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้น --- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2568 มีความเป็นไปได้ที่กนง. อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกราว 2 ครั้ง ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ขณะที่ ทิศทางเงินเฟ้อในปี 2568 ยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำกว่าเป้าหมายของกนง. ที่ 1-3%
Home 'ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น' พลิกโฉม 'ชุมชนสวนบัว-วัดสวนแก้ว' แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน
'ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น' พลิกโฉม 'ชุมชนสวนบัว-วัดสวนแก้ว' แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน

'ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น' พลิกโฉม 'ชุมชนสวนบัว-วัดสวนแก้ว' แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน

“ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” พลิกโฉม “ชุมชนสวนบัว-วัดสวนแก้ว” ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนใกล้กรุง พร้อมดึงนักท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา รับพรจากพระพะยอมฯ แถมยังได้อิ่มอร่อยจากอาหารและเครื่องดื่มไทย ที่หาทานได้ยาก เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวร้อยละ 70 สร้างรายได้ให้คนในชุมชนมากขึ้น พร้อมจัดกิจกรรม One Day Trip Econmass X GSB ชวนสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจกว่า 40 คน ร่วมปลุกเศรษฐกิจฐานราก ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่เข้มแข็ง และยั่งยืน

นายสมชาย อาภรณ์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย และ SMEs Start up เปิดเผยว่า ธนาคารออมสิน มุ่งมั่นสู่การเป็นธนาคารเพื่อสังคม และมีส่วนในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก จึงได้เดินหน้าโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ต่อเนื่องมากว่า 7 ปี โดยธนาคารร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา 67 แห่ง สนับสนุนให้นิสิตนักศึกษารวมกว่า 15,000 ราย นำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการของวิสาหกิจชุมชน/กลุ่ม OTOP/กลุ่มอาชีพ/กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนโฮมสเตย์กว่า 2,000 กลุ่ม ในพื้นที่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้คนในชุมชน มีงาน มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น สร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินที่เป็นธรรม รวมถึงคำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และผู้รับประโยชน์ตลอดห่วงโซ่อุปทานมากกว่า 70,000 ราย

 


โดยความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ลงพื้นที่พัฒนาวิสาหกิจชุมชนสวนบัวโฮมสเตย์ กลุ่มแม่บ้านทำทองพับสมุนไพร รวมถึงการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวจากวัดสวนแก้วสู่ชุมชนสวนบัว ทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการท่องเที่ยว ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 นำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นกับกลุ่มและคนในชุมชน

สำหรับกิจกรรม One Day Trip Econmass X GSB เพื่อสังคม ตอน สวนแก้วสู่สวนบัว ได้เชิญชวนสมาชิกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจในครั้งนี้กว่า 40 คน นำโดยนายกฤษณะพงศ์ พงศ์แสนยากร นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ พาคณะ “ชิม ช้อป ชิลล์” ไปกับอาหาร-เครื่องดื่มที่อร่อย หาทานได้ยาก เช่น ขนมเบื้องญวณ เมี่ยงคำ บ้าบิ่น และ ชื่นใจกับน้ำตาลสด และยังเป็นแหล่งขายสินค้าชุมชน ที่นำมาจำหน่าย ทั้งมะม่วงยายกล่ำที่เป็นของดีเมืองนนท์ และผลไม้อื่น ๆ มากมาย

 


นายกฤษณะพงศ์ พงศ์แสนยากร นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ กล่าวว่า สมาคมฯ และผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจที่มาในวันนี้ ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเศรษฐกิจชุมชน ให้มีการสร้างรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในยุคปัจจุบัน และจะยิ่งดีขึ้นไปอีกหากมีการเหลือเก็บออม ตามวิสัยทัศน์ของธนาคารออมสิน โดยพบว่า ชุมชนแห่งนี้มีความพร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นไปตามควิกวินของรัฐบาล ที่สนับสนุนให้การท่องเที่ยวเป็นกลไกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ควบคู่ไปกับเสริมความเข้มแข็งในชุมชน และเศรษฐกิจฐานราก

นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ กล่าวต่อว่า วัดสวนแก้วและชุมชนสวนบัว อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไม่ถึง 1 ชั่วโมง จึงเชื่อว่า ในอนาคตจะเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวใกล้กรุงที่สำคัญ หากเกิดความร่วมมือกันของคนในชุมชน ต่อยอดพัฒนา สินค้าและบริการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน “สวนบัวโฮมสเตย์” ซึ่งต้องการดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ เพิ่มวันพำนัก เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายในชุมชน และบริเวณพื้นที่โดยรอบมากขึ้น โดยโฮมสเตย์ยังได้รับมาตรฐานด้านสาธารณสุข ทั้ง SHA, SHA PLUS เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนักท่องเที่ยวได้อย่างมาก และยังมีการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว กลายเป็นจุดเช็คอินที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะศาลากลางน้ำ ที่กลายเป็นแลนด์มาร์คสำคัญในแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำของจังหวัดนนทบุรี

“วัดสวนแก้ว” นับเป็นอีกหนึ่งจุดเช็คอินสำคัญ ที่อยู่บนแผนที่ท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับ “ชุมชนสวนบัว” ทำให้นักท่องเที่ยวได้ซึมซับวิถีชีวิตที่ศาสนาเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ตั้งแต่การเรียนรู้ธรรมะ ไปจนถึงการเป็นศูนย์กลางประชาสัมพันธ์กิจกรรมผลไม้เมืองนนท์ เช่น มะม่วงยายกล่ำ ทุเรียนเมืองนนท์ มะปรางหวาน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างรายได้ให้คนในชุมชนอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ยังเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านทองพับสมุนไพร ตั้งแต่การพัฒนาสูตรทองพับมะม่วงยายกล่ำ การออกแบบ ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการสร้างช่องทางการขายทั้ง Offline และ Online

พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสิน จึงถือโอกาสในการปรับปรุงสะพานที่เชื่อมระหว่างการเดินทางบนบกและ การเดินทางทางน้ำ เพื่อให้สะดวก ปลอดภัย และที่สำคัญมีความสวยงาม พร้อมดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างแท้จริง และยังได้มอบจักรยานให้กับวัดสวนแก้ว เพื่อเป็นพาหนะในการเดินทาง เชื่อมจากวัดไปยังชุมชนได้อย่างสะดวก และไม่ปล่อยมลพิษ นับเป็นการสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน

นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนโครงการธนาคารภูมิปัญญาของพื้นที่ โดยสนับสนุน “เรือนสมฤดีบ้านไม้ 100 ปี” และ “โรงน้ำตาลมะพร้าวภูมิปัญญาชุมชน” ด้วยการทำป้ายประชาสัมพันธ์ และจัดทำสื่อ เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ และเป็นที่รู้จักในแผนที่ท่องเที่ยวจากสวนแก้วสู่สวนบัวต่อไปอีกด้วย

ทั้งนี้ ธนาคารออมสินยังมุ่งเน้นขับเคลื่อนภารกิจเชิงสังคมอย่างเต็มรูปแบบ และเพื่อการดูแลลูกค้าทุกกลุ่ม ธนาคารจึงเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและยกระดับกลุ่มองค์กรชุมชน วิสาหกิจชุมชน กลุ่ม OTOP ผู้ประกอบการ ให้มีองค์ความรู้ในการพัฒนาศักยภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน ตอบสนองความต้องการของตลาดและแข่งขันได้ ก่อให้เกิดรายได้และความสามารถในการเข้าถึงบริการทางการเงิน แหล่งเงินทุนที่เป็นธรรม รวมไปถึงการสร้างวินัยทางการเงินให้กับชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมในสังคม

เป็นที่มาของการพัฒนาผู้ประกอบการโฮมสเตย์ และการท่องเที่ยวชุมชน เตรียมความพร้อมให้ชุมชน และผู้ประกอบการต้อนรับนักท่องเที่ยวในอนาคต โดยในปี 2567 ธนาคารออมสิน มีเป้าหมาย สนับสนุน/พัฒนาที่พักโฮมสเตย์ 900 แห่ง และการท่องเที่ยวชุมชน 90 ชุมชน ให้มีโอกาสทำการตลาด สร้างรายได้ชุมชน ผ่านทั้งช่องทาง Offline และ Online เช่น Platform Airbnb Facebook TikTok Line และ Instagram เป็นต้น

สำหรับปี 2563-2566 ธนาคารออมสินมุ่งมั่นเป็นธนาคารเพื่อสังคม โดยได้ให้การช่วยเหลือสังคมไปแล้ว 63 โครงการ มีประชาชนที่ได้รับประโยชน์มากกว่า 18 ล้านคน รวมถึงมีการสนับสนุนเงินทุน 8.9 ล้านคน และสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง 3,600 ชุมชน ผ่านการสร้างงานสร้างอาชีพ ไปพร้อมกับการสร้างชุมชนยั่งยืน เช่น การพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม, การบริหารจัดการขยะในชุมชน รวมไปถึงการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น สร้างบ้านปลา รักษาทะเลไทย เป็นต้น