• ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น
Home บริษัทข้ามชาติขนาดเล็กเอเชียแปซิฟิกมองการค้าดิจิทัลทางบวก
บริษัทข้ามชาติขนาดเล็กเอเชียแปซิฟิกมองการค้าดิจิทัลทางบวก

บริษัทข้ามชาติขนาดเล็กเอเชียแปซิฟิกมองการค้าดิจิทัลทางบวก

เทคโนโลยี-การสร้างแบรนด์เป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ

การค้าเอเชียแปซิฟิกยังคงเติบโตอย่างรวดเร็ว คิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของกิจกรรมทางการค้าทั่วโลกในปี 2023
ร้อยละ 71 ของบริษัทข้ามชาติขนาดเล็กมองการค้าดิจิทัลข้ามพรมแดนทางบวก
ร้อยละ 88 และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ พร้อมกำลังนำเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น big data, AI และระบบชำระเงินออนไลน์มาปรับใช้เพื่อขยายธุรกิจ
ประเทศไทยกำลังมุ่งหน้าสู่ digital transformation ด้วยการลงทุนใน cloud computing, AI และ 5G ดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก พร้อมขับเคลื่อนระบบนิเวศดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน

กรุงเทพฯ , ประเทศไทย – 4 กันยายน 2567 – ดีลอยท์ (Deloitte) เผยผลรายงานการสำรวจล่าสุด พบบริษัทข้ามชาติขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเร่งปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้มากขึ้น และเพิ่มการลงทุนในด้านการสร้างแบรนด์ ขณะที่มองอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และการค้าดิจิทัลทางบวก

รายงาน “Going-Global: Seizing the Next Great Opportunity in Digital Trade” ที่ดีลอยท์ร่วมทำกับเวิลด์เฟิร์ส (WorldFirst) เผยว่าเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกหลัก ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน อย่างการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และนโยบายปกป้องทางการค้าที่เพิ่มขึ้น การนำเข้าและส่งออกสินค้าของเอเชียแปซิฟิกคิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของกิจกรรมการค้าโลก มีมูลค่าเกือบ 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 30% จาก 13.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2013 เวิลด์เฟิร์ส เป็นแพลตฟอร์มการชำระเงิน และบริการทางการเงินดิจิทัลแบบครบวงจรสำหรับธุรกิจทั่วโลก โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการค้าระหว่างประเทศ

ร้อยละ 71 ของบริษัทข้ามชาติขนาดเล็กในเอเชียแปซิฟิกที่ร่วมตอบแบบสำรวจ ซึ่งดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และการค้าดิจิทัล ยังมองอนาคตของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนทางบวก แสดงให้เห็นว่าบริษัทส่วนใหญ่มั่นใจในความต้องการของตลาด นโยบายของภาครัฐ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยคาดว่าตลาดจะขยายตัวต่อเนื่อง พร้อมยอดขาย และกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ขณะเดียวกันร้อยละ 88 ของบริษัทที่ร่วมตอบแบบสำรวจ ระบุว่าการสร้างแบรนด์มีความสำคัญต่อการรักษาการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว การสร้างแบรนด์ไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด แต่ยังเพิ่มความภักดีของลูกค้า (customer loyalty) และส่วนแบ่งทางการตลาดอีกด้วย เหตุนี้ร้อยละ 68 ของบริษัททั้งหมดจึงระบุว่าจะเพิ่มการลงทุนในด้านการสร้างแบรนด์

รายงานฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นถึง digital transformation ของประเทศไทยที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และการลงทุนในด้าน cloud computing, AI และ 5G ช่วยผลักดัน รวมไปถึงโครงการ และการลงทุนต่าง ๆ ของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ และนโยบายภาครัฐที่เอื้อต่อการขยายตัวของระบบนิเวศดิจิทัล ความพยายามเหล่านี้กำลังส่งเสริมอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน อีกทั้งกระตุ้นให้ธุรกิจไทยนำเครื่องมือด้าน AI และเทคโนโลยี automation มาปรับใช้เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และความท้าทายอื่น ๆ

อุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพในการลงทุนอย่างมาก ประเทศไทยกำลังพัฒนาสภาพแวดล้อมดิจิทัลโดยการขยายบริการ PromptPay ไปยัง 8 ประเทศ และพัฒนา QR Code สำหรับการชำระเงินร่วมกับประเทศต่าง ๆ เช่น จีน นอกจากนี้ รัฐบาลไทยมีเป้าหมายที่จะขยายภาคอีคอมเมิร์ซให้มีมูลค่าเกิน 7.1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2027 โดยมีอัตราการเติบโตร้อยละ 10 ต่อปี แผนปฏิบัติการพัฒนาอีคอมเมิร์ซแห่งชาติ ระยะที่ 2 (2023-2027) จะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัล การแบ่งปันข้อมูล ความปลอดภัยในการทำธุรกรรม และการขยายการค้าขายออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Money Expo Bangkok 2024 ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการพัฒนาด้านการเงินดิจิทัล ด้วยจำนวนบัญชีดิจิทัลมากกว่า 320 ล้านบัญชี และความพยายามในการยกระดับความรู้ทางการเงิน โครงการเหล่านี้ช่วยสนับสนุนการบูรณาการทางการเงินในภูมิภาค โดยตลาดการชำระเงินดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะเติบโตเกิน 2.87 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้

ธุรกิจข้ามพรมแดนต่างมองหาแพลตฟอร์มสำหรับการชำระเงิน และบริการทางการเงินแบบครบวงจร

รายงานของดีลอยท์-เวิลด์เฟิร์ส พบว่าบริษัทข้ามชาติขนาดเล็กเริ่มดำเนินธุรกิจหลายประเภทในตลาดอีคอมเมิร์ซมากกว่าหนึ่งแห่ง และจัดตั้งธุรกิจในต่างประเทศมากขึ้น โดยการแข่งขันในอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนที่ดุเดือดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ ส่งผลให้ธุรกิจข้ามพรมแดนต่างมองหาผู้ให้บริการการชำระเงิน และบริการทางการเงินแบบครบวงจร

ด้วยเหตุนี้บริษัทชำระเงินทางการค้าข้ามพรมแดน รวมถึงเวิลด์เฟิร์ส จึงได้พัฒนาไปใช้แพลตฟอร์มแบบครบวงจรที่ให้บริการชำระเงิน ตลอดจนการจัดหาเงินทุนทางการค้า และบริการทางการเงินอื่น ๆ นอกจากนี้บริษัทเหล่านี้ยังได้บูรณาการบริการห่วงโซ่อุปทานก่อนการผลิต และห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้า เช่น โลจิสติกส์ การเก็บภาษี และการโฆษณา เพื่อรองรับสถานการณ์ทางธุรกิจต่าง ๆ ของผู้ค้าเหล่านี้ด้วย

Clara Shi, CEO, เวิลด์เฟิร์ส กล่าวว่า “เรารู้สึกภูมิใจที่ได้ร่วมงานกับดีลอยท์เพื่อสำรวจโอกาส และความท้าทายที่บริษัทข้ามชาติขนาดเล็กต้องเผชิญในปัจจุบัน ผลของรายงานฉบับนี้ถูกเรียบเรียงมาเพื่อสนับสนุน SMEs ทั่วเอเชียแปซิฟิกในการใช้ประโยชน์จากการค้าดิจิทัลข้ามพรมแดนที่มีศักยภาพสูงได้ดียิ่งขึ้น”

ผลการวิจัยที่สำคัญจากรายงาน ‘Going Global: Seizing the Next Great Opportunity in Digital Trade’:

การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จะนำไปสู่การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในบริษัทข้ามชาติขนาดเล็ก ปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (ร้อยละ 75) เป็นเทคโนโลยีที่เป็นที่รู้จัก และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด ตามมาด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) (ร้อยละ 47) เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจ รวมไปถึงประสบการณ์ของลูกค้า ขณะเดียวกันการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการชำระเงิน/หนี้ (ร้อยละ 20) และการจัดการความเสี่ยง (ร้อยละ 18) ก็แสดงให้ว่าองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและเสถียรภาพ

การค้าดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกกำลังเติบโตขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2022 อัตราการเติบโตรายปีของการส่งออกบริการที่ส่งมอบผ่านดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ร้อยละ 10.3 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ร้อยละ 7.1 ตลาดส่งออกหลักในภูมิภาคนี้ ได้แก่จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ขณะที่สหภาพยุโรป (EU) และอเมริกาเหนือถือเป็นพันธมิตรการค้าภายนอกหลักของภูมิภาค โดยคิดเป็นร้อยละ 27 และ 20 ของตลาดส่งออกของเอเชียแปซิฟิก ตามลำดับ

รายงานดีลอยท์-เวิลด์เฟิร์สพัฒนาดัชนีขึ้นใหม่เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมการค้าดิจิทัล และแนวโน้มการเติบโตสำหรับแต่ละประเทศ

ตลาดที่มีศักยภาพสูง: อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์
ตลาดที่เติบโตเต็มที่: สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ตลาดที่กำลังเติบโต: กัมพูชา เมียนมาร์ และลาว
ตลาดที่เริ่มแสดงศักยภาพ: บรูไน

งานวิจัยของดีลอยท์ได้ทำการสำรวจ SMEs ที่ทำธุรกิจข้ามพรมแดนประมาณ 300 ราย ซึ่งโดยทั่วไปมีพนักงานน้อยกว่า 500 คน และมีฐานการดำเนินงานหลักในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Cheng Zhong, managing partner of Technology, Media and Telecommunications Industry, ดีลอยท์ China, กล่าวว่า “ธุรกิจการค้าดิจิทัลกำลังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัย เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจ และ value chain หรือห่วงโซ่คุณค่า ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้ตลาดโลกมีสินค้าและบริการที่หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้แพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน ยังช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ที่ราบรื่นทั่ว value chain โลก”

Lydia Chen, ดีลอยท์ China Research partner กล่าวว่า “SME ส่วนใหญ่กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญไปสู่อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน โดยใช้ประโยชน์จากองค์กรแพลตฟอร์ม เครือข่ายบริการระหว่างประเทศที่คลอบคลุมกว้างขวาง และเทคโนโลยีดิจิทัล”