• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home สบน.ยืนยันกู้เงินชดเชยขาดดุลเป็นไปตามกรอบกฎหมาย
สบน.ยืนยันกู้เงินชดเชยขาดดุลเป็นไปตามกรอบกฎหมาย

สบน.ยืนยันกู้เงินชดเชยขาดดุลเป็นไปตามกรอบกฎหมาย

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ยืนยันว่าในปีงบประมาณ 2563 กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

ในปีงบประมาณ 2563 กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณไปจำนวน 784,115 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย

 

(1) การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณภายใต้กรอบวงเงินของปีงบประมาณ 2562 ซึ่งได้มีการขยายเวลาในการกู้เงินเพื่อให้สอดคล้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปี (Carry Over) จำนวน 101,022 ล้านบาท โดยเป็นดำเนินการตามมาตรา 21 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

(2) การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและกู้เงินเพื่อรองรับกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ รวมทั้งสิ้น 683,093 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามกรอบเพดานของกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ โดยแบ่งเป็นการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 469,000 ล้านบาท และการกู้กรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ จำนวน 214,093 ล้านบาท โดยเป็นดำเนินการตามมาตรา 21 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

 

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีวงเงินทั้งสิ้น 3,200,000 ล้านบาท โดยรวมวงเงินชำระคืนเงินต้นจำนวน 89,170.40 ล้านบาท ดังนั้น กรอบวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปี 2563 ตามกฎหมายมีจำนวน 711,336 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ได้มีการตราพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 โดยให้กระทรวงการคลังโอนงบชำระคืนเงินต้นจำนวน 35,303 ล้านบาท เพื่อนำงบประมาณดังกล่าวไปใช้แก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (COVID-19) ส่งผลให้งบชำระคืนเงินต้นคงเหลือ จำนวน 53,867.40 ล้านบาท ดังนั้น กรอบวงเงินกู้ เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2563 จึงคงเหลือจำนวน 683,093.92 ล้านบาท

 

ดังนั้น การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 784,115 ล้านบาท ประกอบด้วย การกู้เงินภายใต้กรอบวงเงินปีงบประมาณ 2562 (เหลื่อมปี) จำนวน 101,022 ล้านบาท และการกู้เงินภายใต้กรอบวงเงินปีงบประมาณ 2563 จำนวน 683,093 ล้านบาท และกระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ และกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐทุกประการ