• Krungthai COMPASS เผยอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 68 อยู่ที่ 0.84% คาดเงินเฟ้อมีทิศทางชะลอลงระยะข้างหน้า ท่ามกลางแรงกดดันจากสงครามการค้า ประเมินว่า ทิศทางเงินเฟ้อของไทยระยะข้างหน้ายังมีโมเมนตัมที่อ่อนแรงลง ปัจจัยหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศซึ่งมีสัญญาณแผ่ว และทิศทางราคาพลังงานที่ลดลง โดยอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง สะท้อนจากดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ในเดือน ก.พ. 68 ที่ปรับลดลงทั้งหมวดเครื่องจักร ยานพาหนะ และก่อสร้าง ส่งผลให้ดัชนีโดยรวมหดตัว 7.7%YoY
Home ในการประชุม 30 เม.ย. กนง. มีแนวโน้มลดดอกเบี้ย 0.25% 
ในการประชุม 30 เม.ย. กนง. มีแนวโน้มลดดอกเบี้ย 0.25% 

ในการประชุม 30 เม.ย. กนง. มีแนวโน้มลดดอกเบี้ย 0.25% 

ในการประชุม 30 เม.ย. กนง. มีแนวโน้มลดดอกเบี้ย 0.25%  และครึ่งปีหลังอาจปรับลดอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง  

 

ในการประชุมกนง. วันที่ 30 เม.ย. 2568 นี้ คาดกนง. มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.75% เนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในช่วงปลายเดือนมี.ค. ประกอบกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นจากนโยบายปรับขึ้นภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนและเกาหลีใต้ที่เข้ามาน้อยกว่าคาด รวมถึงโมเมนตัมเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนแรงลง ซึ่งคงส่งผลให้กนง. มีการปรับมุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากประมาณการเดิมของธปท. ณ เดือนธ.ค. 2567 ที่ 2.9% รวมถึงอาจมีการปรับประมาณการเงินเฟ้อปีนี้ลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 1.0% จากทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อ่อนแรงลงและการปรับลดราคาพลังงานในประเทศเพื่อบรรเทาค่าครองชีพ

 

 

ขณะที่ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า กนง. อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงครึ่งปีหลัง โดยนโยบายภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariffs) ของสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนหลังสิ้นสุดการชะลอปรับขึ้นภาษี 90 วัน ท่ามกลางการเจรจาตกลงทางการค้ายังล่าช้า ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่อาจเข้ามาน้อยกว่าคาด ดังนั้น ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ยังมีอยู่สูง

 

อย่างไรก็ดี จังหวะการปรับลดดอกเบี้ยคงขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในระยะข้างหน้าเป็นหลัก เนื่องจากกนง. ได้ส่งสัญญาณในการประชุมเดือนก.พ. 2568 ว่าการปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้ไม่ใช่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง ประกอบกับกนง. คงต้องการรักษาพื้นที่นโยบายการเงิน (Policy space) ไว้เพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ขณะที่คงต้องรอติดตามผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังที่อาจออกมาเพิ่มเติมซึ่งอาจช่วยประคองเศรษฐกิจไทยได้ในระดับหนึ่ง