• Krungthai COMPASS เผยอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 68 อยู่ที่ 0.84% คาดเงินเฟ้อมีทิศทางชะลอลงระยะข้างหน้า ท่ามกลางแรงกดดันจากสงครามการค้า ประเมินว่า ทิศทางเงินเฟ้อของไทยระยะข้างหน้ายังมีโมเมนตัมที่อ่อนแรงลง ปัจจัยหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศซึ่งมีสัญญาณแผ่ว และทิศทางราคาพลังงานที่ลดลง โดยอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง สะท้อนจากดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ในเดือน ก.พ. 68 ที่ปรับลดลงทั้งหมวดเครื่องจักร ยานพาหนะ และก่อสร้าง ส่งผลให้ดัชนีโดยรวมหดตัว 7.7%YoY
Home การส่งออกไทยเดือนมี.ค.68 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ 17.8%YoY
การส่งออกไทยเดือนมี.ค.68 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ 17.8%YoY

การส่งออกไทยเดือนมี.ค.68 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ 17.8%YoY

การส่งออกไทยเดือนมี.ค.68 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ 17.8%YoY แต่ทั้งปี 2568 คาดอาจหดตัว -0.5% จากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ  

 

 

มูลค่าการส่งออกไทยเดือนมี.ค.2568 อยู่ที่ 29,548.3 ล้านดอลลาร์ฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยขยายตัว 17.8%YoY สูงสุดในรอบ 3 ปี 

 

-การเร่งนำเข้าสินค้าก่อนสหรัฐฯ ประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าในช่วงต้นเดือนเม.ย. 2568 หนุนการส่งออกไทยไปตลาดหลักให้เติบโตทุกตลาด โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เช่น คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน (รวม HDD) ที่ขยายตัวได้ 80%YoYส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ และจีนเป็นสำคัญ

 

-การส่งออกทองคำขยายตัวสูง 269.5%YoY ตามราคาในตลาดโลกที่ปรับสูงเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางนโยบายการค้าสหรัฐฯ ที่ยังมีความไม่แน่นอน หากหักทองคำการส่งออกไทยเดือนมี.ค.อยู่ที่ 13.8%YoY ขณะที่การส่งออกแพลทินัมไปอินเดียขยายตัวชะลอลงหลังอินเดียมีมาตรการจำกัดการนำเข้าเมื่อช่วงต้นเดือนมี.ค.2568 

 

-ขณะที่การส่งออกแผงโซลาร์เซลล์หดตัวที่ -31.2%YoY จากมาตรการ AD/CVD ของสหรัฐฯ ซึ่งไทยมีแนวโน้มจะถูกเก็บภาษีนำเข้าสูงสุดถึง 375% อย่างไรก็ดี ผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออกไทยอาจไม่มากนักเนื่องจากการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ มีบทบาทลดลงตั้งแต่ปี 2567

 

 


ไตรมาสที่ 2/2568 การส่งออกไทยคาดว่าจะยังขยายตัวเป็นบวกแต่ชะลอลงจากไตรมาสแรกอย่างมีนัยสำคัญ จากการเร่งนำเข้าสินค้าไปมากแล้ว และผลของปัจจัยฐานในเดือน พ.ค.2567 ที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ครึ่งปีหลัง การส่งออกไทยคาดว่าจะหดตัวจากผลของการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ  

 

1) การส่งออกไทยในเดือนเม.ย.2568 อาจชะลอลงจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ที่ประกาศเมื่อวันที่ 2 เม.ย.2568 มีความรุนแรงมากกว่าคาด ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ จะขยายเวลาปรับขึ้นภาษีนำเข้าออกไป 90 วัน (สิ้นสุด 9 ก.ค.2568) แต่จากความไม่แน่นอนของมาตรการภาษีอาจทำให้เกิดการเร่งส่งออกไม่มาก 
โดยการส่งออกของเกาหลีใต้ 20 วันแรกของเดือนเม.ย. หดตัว -5.2%YoY 

 

2) แม้สหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนลงราวครึ่งหนึ่งจากระดับ 145% แต่อัตราดังกล่าวยังคงสูงกว่าที่เรียกเก็บจากประเทศอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ไทยต้องเผชิญแรงกดดันด้านการแข่งขันจากสินค้าจีนที่เพิ่มขึ้นทั้งในตลาดโลกและภายในประเทศ โดยเฉพาะสัดส่วนการส่งออกของจีนไปอาเซียนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สวนทางสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯ ที่ลดลง

 

 

3) ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลกเพิ่มขึ้น กดดันเศรษฐกิจและการค้าโลกให้ชะลอตัวกระทบภาพรวมการส่งออกไทย โดยองค์กรการค้าระหว่างประเทศ (WTO) ได้ปรับลดคาดการณ์การค้าโลกลงที่ -0.2% จากเดิมที่เคยประเมินไว้ในเดือนต.ค.2567 ที่ 3.0%

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการส่งออกไทยในปี 2568 หดตัว -0.5% จากก่อนหน้าที่ประเมินไว้อาจขยายตัวที่ 2.5% อย่างไรก็ดี การส่งออกไทยอาจกลับมาขยายตัว หากสามารถเจรจากับสหรัฐฯ ให้ถูกเก็บภาษีต่ำกว่า 36% และต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง อาทิ เวียดนาม และมาเลเซีย แต่หากการเจรจาไม่บรรลุผลหรือไทยถูกเก็บภาษีสูงกว่า อาจส่งผลกระทบทางลบต่อการส่งออกไทย